เอ็นไวไทยแลนด์

http://envithailand.siam2web.com/

บทความน่าสนใจ

                เนื่องจากผู้จัดทำได้ทำงานด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมจึงขอเสนอบทความด้านการจัดการกาอุตสาหกรรมเพื่อเป็นความรู้นะครับโดยในที่นี้ขอแบ่งการจักการกากอุตสาหกรรมเป็น

 3 ประเภทนะครับ

 

1.การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Reuse/Recycle/Recovery) การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ สามารถดำเนินการได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้

             1) เป็นวัตถุดิบทดแทน (use as raw material substitution) หมายถึง วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเหมาะสมที่ใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนในกระบวนการผลิตของโรงงาน เช่น การนำเศษริมผ้า หรือเศษด้ายจากโรงงานทอผ้าไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนในโรงงานปั่นด้าย การนำเศษกระดาษไปเป็นวัตถุดิบทดแทนในโรงงานผลิตกระดาษ การเศษเหล็กไปหลอมหล่อใหม่ในโรงงานหลอมเหล็ก การนำเศษพลาสติกไปหลอมใหม่ในโรงงานหลอมเศษพลาสติก การนำเศษแก้วไปหลอมใหม่ในโรงงานผลิตแก้ว หรือการนำเถ้าลอยจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนปูนซิเมนต์ในโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ ฯลฯ

           

              2) ส่งกลับผู้ขายเพื่อกำจัด (return to original producer for disposal) หมายถึงการส่งกลับผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วให้แก่โรงงานผู้ผลิต เพื่อนำไปบำบัดหรือกำจัด หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น การส่งยางรถยนต์ใช้แล้วคืนโรงงานผู้ผลิต ฯลฯ ทั้งนี้ การส่งกลับผู้ขายเพื่อกำจัดนั้น ผู้ขายที่รับวัสดุที่ไม่ใช้แล้วดังกล่าวกลับคืนไป จะต้องขออนุญาตเพื่อนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไปบำบัด หรือกำจัด หรือใช้ประโยชน์ใหม่ที่อื่นด้วย

           

              3) ส่งกลับผู้ขายเพื่อนำกลับไปบรรจุใหม่หรือใช้ซ้ำ (reuse container; to berefilled) หมายถึงการส่งภาชนะบรรจุคืนโรงงานผู้ผลิตเพื่อนำกลับไปบรรจุใหม่หรือใช้ซ้ำ เช่น กรณีการส่งถังบรรจุกรด/ด่างคืนโรงงานผู้ผลิต หรือโรงงานผลิตหรือแบ่งบรรจุสารเคมีนั้น ๆ

 

              4) นำกลับมาใช้ซ้ำด้วยวิธีอื่นๆ (other reuse methods) หมายถึง การนำกลับไปใช้ซ้ำด้วย วิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่กรณีเป็นวัตถุดิบทดแทนหรือนำกลับไปบรรจุใหม่ เช่น การนำแกนสายไฟ หรือด้ายกลับไปใช้ซ้ำในโรงงานผู้ผลิต

 

              5) เป็นเชื้อเพลิงทดแทน หมายถึง การนำของเสียที่มีค่าความร้อนและมีสภาพเหมาะสมไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในเตาเผาปูนซิเมนต์

 

              6) ทำเชื้อเพลิงผสม (fuel blending) หมายถึง การนำเอาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ หรือผสมกันเพื่อให้เป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งได้แก่ การขายหรือส่งให้โรงงานลำดับที่ 106 นำน้ำมันหรือตัวทำละลายที่ใช้งานแล้วไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงผสม

 

               7) เผาเพื่อเอาพลังงาน (burn for energy recovery)

 

               8) เป็นวัตถุดิบทดแทนในเตาเผาปูนซีเมนต์ (use as co-material in cement kilnor rotary kiln) ให้ระบุผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบทดแทนในเตาเผาปูนซิเมนต์ จะต้องมีองค์ประกอบของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซิเมนต์ ได้แก่ แคลเซียม อะลูมินา เหล็ก หรือซิลิก้า เช่น ทรายขัดผิวที่ใช้แล้ว Scale เหล็กจากกระบวนการรีดร้อน

              

              9) เข้ากระบวนการนำตัวทำละลายกลับมาใหม่ (solventreclamation/regeneration) หมายถึงการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทตัวทำละลายไปโรงงานลำดับที่ 106 เพื่อกลั่นและนำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ ทินเนอร์ โทลูอีน ไซลีนเมธิลีนคลอไรด์ อะซีโตน ไตรคลอโรเอทธิลี น ฯลฯ

 

              10) เข้ากระบวนการนำโลหะกลับมาใหม่ (reclamation/regeneration of metal andmetal compounds) หมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของโลหะมาผ่านกระบวนการสกัดหรือนำโลหะกลับมาใช้ใหม่ เช่นการน้ำยาล้างฟิล์มมาผ่านกระบวนการสกัดเงิน การนำเถ้าจากการหลอมโลหะมีค่าของโรงงานผลิตเครื่องประดับไปสกัดโลหะมีค่า ฯลฯ

 

             11) เข้ากระบวนการคืนสภาพกรด/ด่าง (acid/base regeneration)

 

              12) เข้ากระบวนการคืนสภาพตัวเร่งปฏิกิริยา

 

2. การบำบัด (Treatment) สามารถดำเนินการได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้

 

               1) บำบัดด้วยวิธีชีวภาพ (biological treatment) หมายถึง การบำบัดโดยใช้วิธีระบบตะกอนเร่ง (Activatedsludge) ระบบย่อยสลายแบบไร้อากาศ การหมัก (Composting) ระบบบ่อผึ่ง (Stabilization pond) ฯลฯ

 

                2) บำบัดด้วยวิธีทางเคมี (chemical treatment) หมายถึง การบำบัดโดยใช้วิธี การปรับค่าความเป็นกรดด่างและทำให้เป็นกลาง (Neutralization and pH adjustment)การทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น รีดักชั่น (Oxidation / reduction reactions) การแยกด้วยไฟฟ้า (Electrodialysis) การตกตะกอน (Precipitation) การทำลายสารประกอบฮาโลเจน (Dehalogenation) ฯลฯ

 

                 3) บำบัดด้วยวิธีทางกายภาพ (physical treatment) หมายถึง การบำบัดโดยใช้วิธีการเหวี่ยงแยก (Centrifugation) การกลั่นแยกด้วยไอน้ำ (Steam Distillation andSteam stripping) การกรองผ่านตัวกรองหลายชั้น(Multi-media filtration) การทำระเหย (Evaporation) การแยกด้วยแรงโน้มถ่วง (Gravity thickening) การแยกด้วยเครื่องแยกนน้ำและน้ำมัน (Oil/water separator or Coalescence separator) ฯลฯ

 

                 4) บำบัดด้วยวิธีทางเคมีกายภาพ (physico-chemical treatment) หมายถึง การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์(Activated carbon adsorption) การแลกเปลี่ยนประจุ (Ionexchange) การกรองรีดน้ำ (Filter press, Dewatering,Vacumm filtration and beltpressfiltration) การสกัดของเหลวด้วยของเหลว (Liquid/liquid extraction) ฯลฯ

 

                  5) บำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมีกายภาพ (physico-chemical treatment ofwastewater) หมายถึง การนำเอาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเหลว (liquid waste oraqueous waste) หรือน้ำเสีย (wastewater) ไปบำบัดทางเคมีหรือกายภาพเพื่อทำลายฤทธิ์ ได้แก่ การส่งน้ำเสียไปบำบัดด้วยวิธีเคมีกายภาพที่โรงงานลำดับที่ 101ระบบบำบัดน้ำเสียรวมซึ่งอยู่นอกบริเวณโรงงาน

 

                  6) เข้าระบบบำบัดน้ำเสียรวม (direct discharge to central wastewatertreatment plant)

 

                  7) ปรับเสถียรด้วยวิธีทางเคมี (chemical stabilization)

 

                   8) ปรับเสถียร/ตรึงทางเคมีโดยใช้ซีเมนต์หรือวัสดุ pozzolanic (chemical fixationusing cementitious and/or pozzolanic material) หมายถึงการบำบัดด้วยวิธีการตรึงด้วยสารเคมี (Chemical fixation) (Pozzolanic and cement base solidification)

 

                   9) เผาทำลายในเตาเผาขยะทั่วไป (burn for destruction) เฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเท่านั้น

 

                 10) เผาทำลายในเตาเผาเฉพาะสำหรับของเสียอันตราย (burn for destruction inhazardous waste incinerator)

 

                   11) เผาทำลายร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ (co-incineration in cement kiln) หมายถึงการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งไม่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเป็นวัตถุดิบทดแทนหรือเป็นเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับใช้เผาในเตาเผาปูนซิเมนต์ไปผ่านกระบวนการปรับสภาพเพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปเผาทำลายในเตาเผาปูนซิเมนต์ ก่อนส่งไปเผาทำลายในเตาเผาปูนซิเมนต์

 

3. การกำจัด (Disposal) สามารถดำเนินการได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้

 

                  1) ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary landfill) เฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายเท่านั้น

 

                   2) ฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secure landfill) หมายถึง การฝังกลบวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายที่อยู่ในรูปที่คงตัว (เสถียร) ไปฝังกลบในหลุมฝังกลบแบบ SecureLandfill โดยไม่ต้องนำไปปรับเสถียรก่อน

 

                  3) (Secure landfill of stabilized and/or solidified wastes) หมายถึง การนำเอาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายที่ผ่านการปรับเสถียรเพื่อทำลายฤทธิ์และให้อยู่ในรูปที่คงตัวแล้วไปฝังกลบในหลุมฝังกลบแบบ Secure Landfill

 

Advertising Zone    Close
Online: 1 Visits: 6,380 Today: 3 PageView/Month: 6

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...